welcome



วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556



สรุปองค์ความรู้จากงานวิจัย

ชื่องานวิจัย
            การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีผลต่อความรู้ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย

ปริญญานิพนธ์ของ
             มยุรี   ศรีทอง

ความมุ่งหมายของงานวิจัย
                 1.เพื่อศึกษาระดับของความรู้ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจำแนกรายด้านที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
                 2.เพื่อเปรียบเทียบความรู้ในการอนุรักา์สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักจัย

ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า
                การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้จะเป็นแนวทางสำหรับครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยในการที่จะจัดรูปแบบการเรียนการสอนโดยการนำรูปแบบการจัดการเรียรู้แบบเด็กนักวิจัยซึ่งเป็นรูปแบบที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม  เพื่อสามารถนำมาพัฒนาความรู้ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย  รวมทั้งพัฒนาความรู้ด้านอื่นๆของเด็กปฐมวัยต่อไป

ของเขตของการวิจัย
                ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
                ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ  เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง  อายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา  2553 โรงเรียนหงสประภาสประสิทธิ์  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา  เขต 2 ซึ่งมี 2 ห้องเรียน จำนวน 70 คน

นิยามศัพท์เฉพาะ
                1.เด็กปฐมวัย  หมายถึง  นักเรียนชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี  ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา  2553 โรงเรียนหงสประภาสประสิทธิ์  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา  เขต 2
                2.การจัดการเรียรู้แบบนักวิจัย  หมายถึง  การจัดการเรียนรู้โดยผู้เรียนมีความสำคัญเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้  ซึ่งผู้เรียนจะได้เรียนรู้ในเรื่องที่ตนเองสนใจ  ได้ลงมือค้นคว้า  แสวงหาความรู้เด็กจะได้สร้างองค์ความรู้  พร้อมกับแก้ปัญหาและค้นพบสิ่งใหม่ๆ  กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยมีดังนี้
                                      ขั้นที่ 1 ขั้นทบทวนความรู้และเลือกหัวข้อเนื้อหาที่สนใจ
                                      ขั้นที่ 2 ขั้นเด็กค้นคว้าวิจัยหาความรู้
                                      ขั้นที่ 3 ครูทบทวนความรู้
                  3.ความรู้ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  หมายถึง  สิ่งที่สั่งสมมาจากการเล่าเรียน การค้นคว้า  หรือประสบการณ์  รวมทั้งรวมความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะในการดูแลรัษาสิ่งแวดล้อม


แผนการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
จัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยเรื่อง  ต้นไม้ในโรงเรียน

จุดประสงค์
             1.เพื่อส่งเสริมความรู้ในการอนุรักษ์ต้นไม้
              - แสดงความต้องการที่จะดูแลรักษต้นไม้  ทำให้เพิ่มจำนวนต้นไม้
              - ใช้ประโยชน์จากต้นไม้ ให้คุ้มค่าและประหยัด
            2.เพื่อส่งเสริมให้เด็กรู้จักการศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตนเองจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ

เนื้อหา
            ต้นไม้มีบุญคุณ  มีประโยชน์ต่อมนุษย์และสัตว์  ควรช่วยกันปลูกต้นไม้  บำรุงรักษาต้ไม้  เพราะต้นไม้เป็นสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของโลก

ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบเด็กวิจัย
                ขั้นที่ 1 ทบทวนความรู้และเลือกหัวข้อเนื้อหาที่สนใจ          
                             ครูตั้งคำถามว่าสิ่งต่างๆรอบตัวเรามีประโยชน์มีบุญคุณต่อเราและสัตว์  เด็กๆแสดงความคิดเห็นหลังจากนั้นลงความเห็นว่าเรื่องที่ต้องการเรียนรู้มากที่สุดคือ เรื่อง ต้นไม้ในโรงเรียน
                ขั้นที่ 2 ขั้นเด็กค้นคว้าหาความรู้
                              เด็กศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ได้แก่  ศึกษาของจริงจากต้นไม้บริเวณโรงเรียน  ศึกษาจากหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับต้นไม้และศึกษาวิธีดูแลรักษาและเพิ่มจำนวนต้นไม้และการใช้ประโยชน์จากต้นไม้อย่างคุ้มค่าและประหยัดระหว่างศึกาาแหล่งเรียนรู้ เด็กร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  ซักถามและตอบคำถาม  จากนั้นเด็กคิดและทำกิจกรรมตามความสนใจของตนเองพร้อมทั้งนำเสนอผลงาน
               ขั้นที่ 3 ขั้นประเมินผล
                           เด็กพูดคุยสนทนาเรื่องราวที่ได้เรียนรู้ในเรื่องต้นไม้ในโรงเรียน  การดูแลรักษาต้นไม้เพิ่มขึ้นและการใช้ต้นไม้ให้คุ้มค่าและประหยัด  และวาดรูปสรุปเรื่องราวที่ตนเองได้เรียนรู้  ครูสังเกตพฤติกรรมพูดคุย  การทำผลงานและการนำเสนอผลงานของเด็ก

การประเมินผล
              1.สังเกตการเข้าร่วมกิจกรรม
              2.สังเกตการตั้งคำถามและตอบคำถาม
              3.สังเกตการพูดคุยสนทนา
   







วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556



30 September 2013

Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood

ครั้งที่ 18

        เนื้อหาสาระ

- วันนี้อาจารย์พูดถึงความคืบหน้าของ บล๊อก และเครื่องแต่งกาย
-  อาจารย์ให้นำของเล่นเข้ามุมของแต่ล่ะกลุ่มออกมาวางเรียงไว้หน้าห้อง
-  อาจารย์ให้นำสื่อมาส่งกับอาจารย์


ของเข้ามุม






23 September 2013

Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood

ครั้งที่ 17

        เนื้อหาสาระ

- เมื่อสัปดาห์ที่แล้วอาจารย์ให้เลือกแผนที่อยากทำมา1แผน 
- แผนการสอนที่เลือก คือ การทำแกงจืด
- อาจารย์ให้เพื่อนกลุ่มที่ทำแกงจืดเป็นผู้สอนวิธีการทำ  แล้วก็ให้สอนเพื่อนๆในห้อง

ภาพการทำแกงจืด


วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556


16 September 2013

Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood

ครั้งที่ 16

        เนื้อหาสาระ

- วันนี้เรียนการทำ Cooking กับอาจารณ์ตฤณ อาจารย์ให้จับกลุ่มกัน  กลุ่มล่ะ 10 คน 
- อาจารย์ให้เขียนแผนการสอนในการทำ Cooking โดยอาจารย์ให้เขียน คือ







ภาพการนำเสนอ





วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556



15 September 2013

Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood

ครั้งที่ 15

              เนื้อหาสาระ

(เรียนชดเชย)

- อาจารย์ให้คนที่ยังไม่ได้นำเสนอของเล่นเข้ามุม  และการทดลองมานำเสนอ
- กลุ่มของดิฉัน  นำเสนอ ของเล่นเข้ามุม  คือ  เวทีกระดาษซูโม่
สมาชิก  คือ
1.นางสาวจินตนา  แก้วแสงสิม
2.นางสาวเณฐิดา  แก้วปุ๋ย
3.นางสาวพัชรี   คำพูล


                                                                                             อุปกรณ์

                                                                                 1.กระดาษสี
                                                                            2.กระดาษแข็ง
3. กาว,กาวร้อน
4. กรรไกร
5.ดินสอ,ไม้บรรทัด
6.ไหมพรม
7. ทราย
8. กล่อง
9.ไม้ไอศกรีม



วิธีทำ

1.นำกล่องมาห่อกระดาษ

2.นำกระดาษสีแต่ละสีมาตัดเพื่อที่จะใช้ตกแต่งกล่องที่เราห่อ
3.วาดรูปวงกลมตรงกลางของกล่อง
4.ทากาวบริเณข้องนอกวงกลมแล้วโรยด้วยทรายให้รอบๆ
5.นำเชือกมาติดขอบวงกลมและรอบกล่องทั้ง4ด้าน
6.ตัดกระดาษแล้วนำม่ต่อกันให้เป็นกล่อง แล้วก็มาติดบริเวณข้างกล่อง
7.เจาะรู2ด้าน ตรงข้ามกัน  เพื่อที่จะใส่ไม้ไอครีม

หลักการทางวิทยาศาสตร์
                
              เป็นอาการสั่นชนิดหนึ่งของวัตถุในลักษณะกระทบกระทั่ง อาการสั่นเช่นนั้นมีตัวกลางคือ

ไม้ไอศกรีม จึงทำให้วัตถุเคลื่อนที่ได้


ของเล่นที่เพื่อนแต่ละกลุ่มมานำเสนอ  มีดังนี้

-ภาพสองมิติ
-นิทานเคลื่อนที่โดยแม่เหล็ก
-กล่องสีน่าค้นหา
-รถลงหลุม
-ลิงห้อยโหน
-เวทีซูโม่กระดาษ
-กระดาษเปลี่ยนสี
-การเจริญเติบโตของสัตว์
-ความสัมพันธ์ของสัตว์




การทดลอง

-กระดาษเกิดเสียง
-กระป๋องผิวปาก
-กรวยลูกโป่ง
-ภาพลวงตา
-ตุ๊กตาล้มลุก
-กิ้งก่าไต่เชือก
-กระป๋องบูมเมอร์แรง


9  September  2013

Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood

ครั้งที่ 14

        วันนนี้ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจาก อาจารย์ติดธุระ 


  ****** อาจารย์ได้นัดเรียนชดเชย ในวันที่ 15 กันยายน 2556  พร้อมนัดส่งงานที่เหลือทุกชิ้น


ความรู้เพิ่มเติม

                    วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในธรรมชาติ และกระบวนการค้นคว้าหาความรู้อย่างเป็นระบบและมีขั้นตอน 


ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้มาอย่างไร 

                     ในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ หรือการได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย
1.ลักษณะนิสัยสำคัญของนักวิทยาศาสตร์
2.การทำงานอย่างมีระบบและมีขั้นตอน
3.ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นความชำนาญทางวิทยาศาสตร์ เช่นการสังเกต การจำแนก การคำนวณ การพยากรณ์ การลงความเห็น การกำหนดตัวแปรและการควบคุมตัวแปร การตั้งสมมติฐาน การทดลอง ตลอดจนการสรุปผลการทดลองเป็นต้น


ลักษณะนิสัยสำคัญของนักวิทยาศาสตร์ มีลักษณะสำคัญดังนี้
1.การเป็นคนช่างสังเกต
2.ช่างคิดช่างสงสัย
3.มีเหตุมีผล ยอมรับฟังเหตุผลของผู้อื่น
4.มีความพยายามและอดทน
5.มีความคิดริเริ่ม
6.ทำงานอย่างมีระบบ

การเป็นคนช่างสังเกต 
                        การสังเกต หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือประสาทสัมผัสทั้งห้า คือตา หู จมูก ลิ้น และกาย ในการสำรวจสิ่งที่สังเกตนั้น เช่นสำรวจวัตถุหรือปรากฏการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติหรือจากการทดลอง โดยไม่ต้องแสดงความคิดเห็นของผู้สังเกต 


การเป็นคนช่างคิดช่างสงสัย               
                         การเป็นคนช่างคิดช่างสงสัยเป็นลักษณะนิสัยสำคัญอีกประการหนึ่งของ นักวิทยาศาสตร์ เพราะการสังเกตเพียงอย่างเดียวโดยไม่มีการคิดต่อไปนั้น จะไม่ช่วยให้เกิดความสนใจต้องการที่จะศึกษาหาความจริงเกี่ยวกับสิ่งที่สงสัย ทำให้ไม่เกิดความรู้ใหม่ๆ

การเป็นคนมีเหตุผล                
                           คนที่มีเหตุผล คือผู้ที่มีความเชื่อว่าเมื่อมีผลหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้น ย่อมต้องมีสาเหตุที่ทำให้เกิด นักวิทยาศาสตร์มีวิธีค้นคว้าหาความรู้อย่างมีเหตุผล โดยมีขั้นตอนดังนี้

การเป็นคนมีความพยายามและอดทน              
                             ความพยายามและอดทน เป็นลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งของ นักวิทยาศาสตร์ คือ ความเป็นผู้มีจิตใจแน่วแน่ ไม่ท้อถอย แม้จะใช้เวลานานเพียงใดก็ยังคงทำอยู่ ศึกษาอยู่จนพบความสำเร็จ

การเป็นคนมีความคิดริเริ่ม 
              ผู้ที่มีความคิดริเริ่ม หมายถึงผู้ที่มีความคิดที่กล้าที่จะคิดและทำสิ่งที่แปลกไปจากผู้อื่นคิดหรือทำอยู่แล้ว โดยเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดประโยชน์ ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อตนเองและส่วนรวม ลักษณะการเป็นคนมีความคิด ริเริ่มทำให้ค้นพบ และเกิดสิ่งประดิษฐ์ใหม่ อยู่เสมอ

การทำงานอย่างมีระบบและมีขั้นตอน               
                             กระบวนการในการทำงานอย่างมีระบบและมีขั้นตอน เพื่อค้นคว้าหาความรู้เรียกว่าวิธีการทางวิทยาศาสตร์ หรือระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้
1.ระบุปัญหา
2.ตั้งสมมติฐาน
3.ตรวจสอบสมมติฐาน โดยทำการทดลอง หรือ ศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูล
สรุปผล







2  September  2013

Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood


ครั้งที่ 14

       เนื้อหาสาระ

- อาจารย์ให้นำเสนอของเล่นเข้ามุม กลุ่มล่ะ 3 คน


กลุ่ม 1 การมองเห็นของผ่านวัตถุโปร่งใส โปร่งแสง และทึบแสง
กลุ่ม 2 กล่องนำแสง
กลุ่ม 3 สัตว์ไต่เชือก
กลุ่ม 4 กีตาร์กล่อง
กลุ่ม 5 วงจรผีเสื้อและไก่
กลุ่ม 6 เขาวงกต
กลุ่ม 7 มองวัตถุผ่านแว่นขยาย


ภาพการนำเสนอ