welcome



วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556


17  August  2013

Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood

ครั้งที่ 11


เรียนชดเชย วันที่ 12 สิงหาคม  2556

       เนื้อหาสาระ

- อาจารย์ให้นำเสนอของเล่นและทดลองการเล่นให้เพื่อนดู
 

  ดิฉันนำเสนของเล่นวิทยาศาสตร์ คือ ปืนยิงลูกบอล


อุปกรณ์

1.ขวดพลาสติก หรือขวด PET 2 ขวด : ขนาดเล็ก 1 ใบ ใหญ่ 1 ใบ ล้างให้สะอาด
2.หนังสติ๊ก : เส้นเล็ก 2 เส้น
3.เทปกาว, มีดคัตเตอร์, เชือก  ตะปู

ขั้นตอนการประดิษฐ์


  1. ใช้ตะปูเจาะรูตรงกลางฝาขวดพลาสติก ทั้ง 2 ฝา
  2. ใช้มีดคัตเตอร์ และ กรรไกร ตัดขวดพลาสติกใบเล็ก ตรงส่วนต่อระหว่างโค้งหัวขวดกับตัวขวด และตัดขวดพลาสติกใบใหญ่ ตรงก้นขวด
  3. ใช้หัวแร้งไฟฟ้าเจาะรูบนขวดพลาสติก 2 รู ด้านตรงกันข้าม ให้รูห่างจากรอยตัดสัก 5 มม. ของขวดพลาสติกตั้ง 2 ใบ
  4. ใช้เชือกยาวประมาณ 2 ฟุต ร้อยปลายด้านหนึ่ง ผ่านรูด้านนอกของฝาขวดพลาสติกใบใหญ่ ทะลุเข้าไปในขวดฯ แล้วร้อยผ่านรูด้านนอกของฝาขวดพลาสติกใบเล็ก ผูกปมขนาดใหญ่กว่ารูที่เจาะ เพื่อมิให้เชือกหลุดรอดกลับได้
  5. ร้อยหนังสติ๊กผ่านรูที่เจาะไว้ข้างขวดใบเล็ก สอดปลายให้ยึดติดกับขวดใบเล็ก แล้วสอดปลายผ่านรูด้านในของขวดใบใหญ่ ทำเหมือนกันเช่นนี้ ทั้ง 2 ด้าน
  6. ยึดปลายหนังสติ๊กที่ผ่านรูข้างขวดใบใหญ่ โดยใช้เชือกร้อยยึดไว้ 

เกิดอะไรขึ้น? :
       
           เมื่อเราดึงเชือกไปด้านหลัง จะเกิดการสะสมพลังงานศักย์ในเส้นยางหนังสติ๊ก เมื่อปล่อยมือ พลังงานศักย์ที่สะสมไว้ในเส้นยาง จะเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์ถ่ายให้กับขวดใบเล็กและกระสุน ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า เมื่อขวดใบเล็กเคลื่อนที่ผ่านปากขวดใบใหญ่ จะถูกรั้งให้หยุดด้วยหนังสะติ๊ก พลังงานจลน์จะถ่ายเทต่อให้กับกระสุน ส่งผลให้กระสุนวิ่งตรงต่อไปข้างหน้าด้วยความเร็ว






การนำเสนอของเล่น  ของเพื่อนๆในห้อง



12  August  2013

Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood

ครั้งที่  10 


         ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจาก  เป็นวันแม่

อาจารย์ให้ไปเรียนชดเชยในวันที่  17  สิงหาคม  2556


                                      พระคุณแม่ยิ่งใหญ่หาใดเทียบมิอาจเปรียบแม้ภูผาชลาสินธุ์
                                          น้ำนมที่กลั่นให้ลูกได้ดื่มกินลูกถวิลถึงคุณค่าว่าอนันต์


                     ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติ             ชาวอเมริกันเป็นผู้กำหนดให้มีวันแม่อย่างเป็นทางการขึ้น และผู้ที่พยายามเรียกร้องให้มีวันแม่ในอเมริกา คือ แอนนา เอ็ม. จาร์วิส คุณครูแห่งรัฐฟิลาเดลเฟีย แต่กว่าเธอจะประสบความสำเร็จก็ครบ 2 ปีพอดีในปี พ.ศ.2457 โดยประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน ได้มีคำสั่งให้ถือวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และดอกไม้สำหรับวันแม่ของชาวอเมริกันก็คือดอกคาร์เนชั่น ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือถ้าแม่ยังมีชีวิตอยู่ให้ประดับตกแต่งบ้าน หรือประตูด้วยดอกคาร์เนชั่นสีชมพู แต่ถ้าแม่ถึงแก่กรรมไปแล้วให้ประดับด้วยดอกคาร์เนชั่นสีขาว
 

                    ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติในประเทศไทย       วันแม่แห่งชาติ งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีงานวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน

                   ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ คือ ดอกมะลิ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

                    ทำไมจึงใช้ดอกมะลิเป็นดอกไม้ประจำวันแม่      การที่ใช้ดอกมะลิ เป็นสัญลักษณ์วันแม่ ก็เพราะดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ มีกลิ่นหอมที่หอมไปไกลและหอมได้นาน ผลิดอกได้ทั้งปี อีกทั้งยังนำไปปรุงเป็นเครื่องยาหอมใช้บำรุงหัวใจได้ด้วย ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ลึกซึ้งที่แม่มีต่อลูก เป็นความรักที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณาที่ไม่มีที่สิ้นสุด และไม่มีพิษมีภัย มีแต่ความชุ่มชื่นใจดั่งความหอมของดอกมะลิ






5  August  2013

Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood

ครั้งที่  9


      ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจาก  อยู่ในช่วงสอบกลางภาค




29  July  2013

Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood

ครั้งที่ 8


     ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจาก  ใกล้จะสอบอาจารย์เลยให้หยุดเพื่ออ่านหนังสือ




28  July  2013

Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood

ครั้งที่  7 

      เนื้อหาสาระ

- วันนี้อาจารย์นัดเรียนชดเชย  แต่ไม่ได้เรียน  เนื่องจาก  ไม่มีห้อง  อาจารย์ก็เลยให้เข้าอบรมการประดิษฐ์  สื่อ  สำหรับเด็กปฐมวัย







22  July  2013

Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood

ครั้งที่  6


        ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจาก  เป็นวันเข้าพรรษา


วันเข้าพรรษา


   

   ต ร ง กั บ วั น แ ร ม ๑ ค่ำ เ ดื อ น ๘
                 
                          "เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เว้นแต่มีกิจธุระเจ้าเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์ แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆองค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่าที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้งถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีกเพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้
    
                     โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขารอันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษานับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา
การที่พระภิกษุสงฆ์ท่านโปรดสัตว์อยู่ประจำเป็นที่เช่นนี้ เป็นการดีสำหรับสาธุชนหลายประการ กล่าวคือ ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามพระพุทธบัญญัติก็นิยมบวชพระ ส่วนผู้ที่อายุยังไม่ครบบวชผู้ปกครองก็นำไปฝากพระ โดยบวชเป็นเณรบ้าง ถวายเป็นลูกศิษย์รับใช้ท่านบ้าง ท่านก็สั่งสอนธรรม และความรู้ให้ และโดยทั่วไป พุทธศาสนิกชนนิยมตักบาตรหรือไปทำบุญที่วัด นับว่าเป็นประโยชน์
    
                      การปฏิบัติตน ในวันนี้หรือก่อนวันนี้หนึ่งวัน พุทธศาสนิกชนมักจะจัดเครื่องสักการะเช่น ดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น มาถวายพระภิกษุ สามเณร ที่ตนเคารพนับถือ ที่สำคัญคือ มีประเพณีหล่อเทียนขนาดใหญ่เพื่อให้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์อยู่ได้ตลอด 3 เดือน มีการประกวดเทียนพรรษา โดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำ

*** เพิ่มเติม ***

                 "ผ้าจำนำพรรษา" คือผ้าที่ทายกถวายแก่พระสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาครบแล้วในวัดนั้น ภายในเขตจีวรกาล เรียกอีกอย่างว่า "ผ้าวัสสาวาสิกสาฎิกา" 
                   "ผ้าอาบน้ำฝน" คือผ้าสำหรับอธิษฐานไว้ใช้นุ่งอาบน้ำฝนตลอด ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เรียกอีกอย่างว่า "ผ้าวัสสิกสาฏิกา"







 

15  July  2013

Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood

ครั้งที่  5

   
       สัปดาห์นี้ไม่ได้มาเรียน   เนื่องจาก  ไปหาหมอที่โรงพยาบาลเป็นผื่นคัน


เนื้อหาสาระ  ( อ้างอิงมาจากของ น.ส. เนฐิดา   แก้วปุ๋ย)


- อาจารย์ให้เพื่อนๆนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ต่อจากอาทิตย์ที่แล้ว
- อาจารย์สั่งให้หาการทดลองวิทยาศาสตร์และของที่อยู่ในมุมโดยให้เด็กเล่นได้เลยนำมาเสนอครั้งหน้า
- อาจารย์นัดเรียนชดเชย  คือ  วันอาทิตย์ ที่ 28 กรกฎาคม  2556   เวลา  08.30-12.20 น. โดยให้มานำเสนอการทดลองและของที่อยู่ในมุม


  8  July  2013

Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood

ครั้งที่  4

         เนื้อหาสาระ

- อาจารย์นำการทดลองมาให้ดู  คือ  เจาะรูที่ก้นขวดน้ำ  แล้วนำน้ำใส่ในขวดน้ำก็ไหลออกมา  แต่เมื่อพอปิดฝาน้ำก็หยุดไหล  ซึ่งหมายถึง  ความกดอากาศ  แรงดัน  จะแทนที่ของอากาศ
- อาจารย์แจกกระดาษให้  โดยให้นักศึกษาทำเป็นสมุดเล่มเล็ก
- นำเสนอของเล่นที่หามาให้อาจารย์ฟังเพื่อที่จะนำไปประดิษฐ์ต่อ
-  อาจารย์เปิดวิดิโอให้ดู  เรื่อง  อากาศ


  1  July  2013

Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood

ครั้งที่ 3

         เนื้อหาสาระ

- อาจารย์ทบทวนเนื้อหาที่เรียนในคาบที่แล้ว
- การริเริ่มสร้างสรรค์ต้องมีพื้นฐานจากความรู้

วิทยาศาสตร์

    ความหมาย   ความรู้ที่ได้จากการสังเกต  เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้
**เบรนเบสด์  เลิร์นนิ่ง   คือ  พื้นฐานของเด็ก  เด็กต้องลงมือกระทำมีการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม  ปรับความรู้ใหม่เพื่อความอยู่รอด

- การที่เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5  คือ  การดูดซึม
- การปรับโครงสร้าง  คือ  1.เด็กกระทำเกิดประสบการณ์  มีบางเรื่องที่สอดคล้องกับความรู้เดิมและมี                  บางเรื่องที่แตกต่างเพิ่มขึ้น
                                      2.เด็กปรับความรู้ใหม่
                                     3.เพื่อความอยู่รอด
- การเรียนรู้    คือ   การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม 
                  ตัวอย่าง    เด็กไม่รู้จักน้ำร้อนว่าร้อนไหมเมื่อเด็กได้ลองจับกาน้ำร้อนแล้วรู้ว่าร้อน ต่อไปเด็กก็จะไม่เข้าไปจับอีก
- เส้นใยจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ   เด็กมีประสบการณ็เยอะ
- เส้นใยสมองเชื่อมกัน =  ให้เด็กมีประสบการณ์   =  ลงมือกระทำ

     แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาสาสตร์

1.การเปลี่ยนแปลง  คือ  ทุกอย่างในโลกนี้มีการเปลี่ยนแปลง  (เกิด  แก่  เจ็บ  ตาย)
2.ความแตกต่าง     คือ  ทุกอย่างในโลกนี้มีความคล้ายคลึงแต่ไม่เหมือนกัน
3.การปรับตัว          คือ  ทุกอย่างในโลกนี้ต้องการปรับตัว
4.การพึ่งพาอาศัย   คือ  ทุกอย่างในโลกนี้ต้องพึ่งพาอาศัยกัน
5.ความสมดุล         คือ  ทุกอย่างในโลกนี้ต้องต่อสู้เพื่อความอยู่รอด

- วิธีการทางวิทยาสาตร์
1.กำหนดปัญหา
2.ตั้งสมมติฐาน
3.ลงมือกระทำ
4.วิเคราะห์ข้อมูล
5.สรุปผลและนำไปใช้

   งานที่รับมอบหมาย

นำเศษวัสดุมาทำของเล่น  1  ชิ้น

  24  June  2013

Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood

ครั้งที่ 2