welcome



วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556



15 September 2013

Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood

ครั้งที่ 15

              เนื้อหาสาระ

(เรียนชดเชย)

- อาจารย์ให้คนที่ยังไม่ได้นำเสนอของเล่นเข้ามุม  และการทดลองมานำเสนอ
- กลุ่มของดิฉัน  นำเสนอ ของเล่นเข้ามุม  คือ  เวทีกระดาษซูโม่
สมาชิก  คือ
1.นางสาวจินตนา  แก้วแสงสิม
2.นางสาวเณฐิดา  แก้วปุ๋ย
3.นางสาวพัชรี   คำพูล


                                                                                             อุปกรณ์

                                                                                 1.กระดาษสี
                                                                            2.กระดาษแข็ง
3. กาว,กาวร้อน
4. กรรไกร
5.ดินสอ,ไม้บรรทัด
6.ไหมพรม
7. ทราย
8. กล่อง
9.ไม้ไอศกรีม



วิธีทำ

1.นำกล่องมาห่อกระดาษ

2.นำกระดาษสีแต่ละสีมาตัดเพื่อที่จะใช้ตกแต่งกล่องที่เราห่อ
3.วาดรูปวงกลมตรงกลางของกล่อง
4.ทากาวบริเณข้องนอกวงกลมแล้วโรยด้วยทรายให้รอบๆ
5.นำเชือกมาติดขอบวงกลมและรอบกล่องทั้ง4ด้าน
6.ตัดกระดาษแล้วนำม่ต่อกันให้เป็นกล่อง แล้วก็มาติดบริเวณข้างกล่อง
7.เจาะรู2ด้าน ตรงข้ามกัน  เพื่อที่จะใส่ไม้ไอครีม

หลักการทางวิทยาศาสตร์
                
              เป็นอาการสั่นชนิดหนึ่งของวัตถุในลักษณะกระทบกระทั่ง อาการสั่นเช่นนั้นมีตัวกลางคือ

ไม้ไอศกรีม จึงทำให้วัตถุเคลื่อนที่ได้


ของเล่นที่เพื่อนแต่ละกลุ่มมานำเสนอ  มีดังนี้

-ภาพสองมิติ
-นิทานเคลื่อนที่โดยแม่เหล็ก
-กล่องสีน่าค้นหา
-รถลงหลุม
-ลิงห้อยโหน
-เวทีซูโม่กระดาษ
-กระดาษเปลี่ยนสี
-การเจริญเติบโตของสัตว์
-ความสัมพันธ์ของสัตว์




การทดลอง

-กระดาษเกิดเสียง
-กระป๋องผิวปาก
-กรวยลูกโป่ง
-ภาพลวงตา
-ตุ๊กตาล้มลุก
-กิ้งก่าไต่เชือก
-กระป๋องบูมเมอร์แรง


9  September  2013

Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood

ครั้งที่ 14

        วันนนี้ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจาก อาจารย์ติดธุระ 


  ****** อาจารย์ได้นัดเรียนชดเชย ในวันที่ 15 กันยายน 2556  พร้อมนัดส่งงานที่เหลือทุกชิ้น


ความรู้เพิ่มเติม

                    วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในธรรมชาติ และกระบวนการค้นคว้าหาความรู้อย่างเป็นระบบและมีขั้นตอน 


ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้มาอย่างไร 

                     ในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ หรือการได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย
1.ลักษณะนิสัยสำคัญของนักวิทยาศาสตร์
2.การทำงานอย่างมีระบบและมีขั้นตอน
3.ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นความชำนาญทางวิทยาศาสตร์ เช่นการสังเกต การจำแนก การคำนวณ การพยากรณ์ การลงความเห็น การกำหนดตัวแปรและการควบคุมตัวแปร การตั้งสมมติฐาน การทดลอง ตลอดจนการสรุปผลการทดลองเป็นต้น


ลักษณะนิสัยสำคัญของนักวิทยาศาสตร์ มีลักษณะสำคัญดังนี้
1.การเป็นคนช่างสังเกต
2.ช่างคิดช่างสงสัย
3.มีเหตุมีผล ยอมรับฟังเหตุผลของผู้อื่น
4.มีความพยายามและอดทน
5.มีความคิดริเริ่ม
6.ทำงานอย่างมีระบบ

การเป็นคนช่างสังเกต 
                        การสังเกต หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือประสาทสัมผัสทั้งห้า คือตา หู จมูก ลิ้น และกาย ในการสำรวจสิ่งที่สังเกตนั้น เช่นสำรวจวัตถุหรือปรากฏการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติหรือจากการทดลอง โดยไม่ต้องแสดงความคิดเห็นของผู้สังเกต 


การเป็นคนช่างคิดช่างสงสัย               
                         การเป็นคนช่างคิดช่างสงสัยเป็นลักษณะนิสัยสำคัญอีกประการหนึ่งของ นักวิทยาศาสตร์ เพราะการสังเกตเพียงอย่างเดียวโดยไม่มีการคิดต่อไปนั้น จะไม่ช่วยให้เกิดความสนใจต้องการที่จะศึกษาหาความจริงเกี่ยวกับสิ่งที่สงสัย ทำให้ไม่เกิดความรู้ใหม่ๆ

การเป็นคนมีเหตุผล                
                           คนที่มีเหตุผล คือผู้ที่มีความเชื่อว่าเมื่อมีผลหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้น ย่อมต้องมีสาเหตุที่ทำให้เกิด นักวิทยาศาสตร์มีวิธีค้นคว้าหาความรู้อย่างมีเหตุผล โดยมีขั้นตอนดังนี้

การเป็นคนมีความพยายามและอดทน              
                             ความพยายามและอดทน เป็นลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งของ นักวิทยาศาสตร์ คือ ความเป็นผู้มีจิตใจแน่วแน่ ไม่ท้อถอย แม้จะใช้เวลานานเพียงใดก็ยังคงทำอยู่ ศึกษาอยู่จนพบความสำเร็จ

การเป็นคนมีความคิดริเริ่ม 
              ผู้ที่มีความคิดริเริ่ม หมายถึงผู้ที่มีความคิดที่กล้าที่จะคิดและทำสิ่งที่แปลกไปจากผู้อื่นคิดหรือทำอยู่แล้ว โดยเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดประโยชน์ ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อตนเองและส่วนรวม ลักษณะการเป็นคนมีความคิด ริเริ่มทำให้ค้นพบ และเกิดสิ่งประดิษฐ์ใหม่ อยู่เสมอ

การทำงานอย่างมีระบบและมีขั้นตอน               
                             กระบวนการในการทำงานอย่างมีระบบและมีขั้นตอน เพื่อค้นคว้าหาความรู้เรียกว่าวิธีการทางวิทยาศาสตร์ หรือระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้
1.ระบุปัญหา
2.ตั้งสมมติฐาน
3.ตรวจสอบสมมติฐาน โดยทำการทดลอง หรือ ศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูล
สรุปผล







2  September  2013

Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood


ครั้งที่ 14

       เนื้อหาสาระ

- อาจารย์ให้นำเสนอของเล่นเข้ามุม กลุ่มล่ะ 3 คน


กลุ่ม 1 การมองเห็นของผ่านวัตถุโปร่งใส โปร่งแสง และทึบแสง
กลุ่ม 2 กล่องนำแสง
กลุ่ม 3 สัตว์ไต่เชือก
กลุ่ม 4 กีตาร์กล่อง
กลุ่ม 5 วงจรผีเสื้อและไก่
กลุ่ม 6 เขาวงกต
กลุ่ม 7 มองวัตถุผ่านแว่นขยาย


ภาพการนำเสนอ









26  August  2013

Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood


ครั้งที่ 13

       วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน   เนื่องจาก อาจารย์จัดงานเกษียณอายุราชการ

                                                                
                                                                แด่ครูผู้เกษียณ

มุทิตาจิตศิษย์...แด่ครูฉัน


ผู้รังสรรค์สอนสั่งหวังเกิดผล
ยกวิญญาณด้านจิตใจหัวใจคน
จากวังวนหลุดพ้นอวิชา

ศิษย์สำนึกตรึกตรองไตรในคำสอน
ศิษย์สังวรคำสอนครูคู่ใจหนา
สอนเรียนรู้สู้ชีวิตวิทยา
ใช้ปัญญาเบิกทางอย่างพอดี

ฉันจดจำถ้อยคำครูผู้ศักดิ์สิทธิ์
สั่งสอนศิษย์ให้รู้จักรักศักดิ์ศรี
รู้จักงานการเอื้อนเอ่ยเผยวาจี
ถ้อยวาทีพริ้งไพเพราะเสนาะกรรณ

จักจดจำคำสอนดีมีความหมาย
จนชีพวายมิคลายไปให้แปรผัน
พระคุณครูผู้หวังดีมีอนันต์
ชั่วชีวันไม่ลืมครูผู้สอนใจ

ศิษย์...ร้อยรสบทกลอนสุนทรหวาน
เนื่องในงานการเกษียณเปลี่ยนสมัย
มุทิตา...ครูอาจารย์กาลตามวัย
ครูจักได้พักหย่อนกายา

ขออัญเชิญคุณพระศรีที่เรืองฤทธิ์
เนรมิตพรชัยให้รักษา
อัญเชิญองค์เผ่าพงศ์วงศ์อินทรา
น้อมพรมาแด่ครูผู้...เกษียณเทอญ

ขอขอบคุณ กลอนวันเกิด โดยคุณ doohub จาก toursisaket.com
19  August  2013

Science  Experiences  Management  for  Early  Childhood

ครั้งที่ 12

       เนื้อหาสาระ

              - อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกไปนำเสนองาน การทดลองวิทยาศาสตร์ อาจารย์ให้กลุ่มละ 3 คน       กลุ่มดิฉันมีดังนี้  

1.นางสาวจินตนา  แก้วแสงสิม

2.นางสาวพัชรี  คำพูล 

3.นางสาวเณฐิดา แก้วปุ๋ย 

ได้นำเสนอการทดลองชื่อ หลอดดูุดไม่ขึ้น

อุปกรณ์


- หลอดดูด หลอด
- แก้วน้ำ ใบ
- น้ำผลไม้

วิธีทำ

                                                                            
                                                     1. เทน้ำผลไม้ใส่ในแก้วประมาณครึ่งแก้ว


                          
                                                     2. นำหลอดดูดทั้ง 2 ไว้ในแก้วและไว้นอกแก้ว




                                                     3. ดูดหลอดทั้ง 2 พร้อมกัน






หลักการทางวิทยาศาสตร์
          

                  เมื่อเราดูดหลอดทั้ง 2 ข้าง ซึ่งหลอดอันที่หนึ่งอยู่ในขวดแก้วหลอดอันที่สองอยู่ข้างนอกขวดแก้วก็จะพบว่าไม่สามารถดูดน้ำขึ้นได้เป็นเพราะแรงดันอากาศเมื่อเราดูดหลอดทั้ง 2 พร้อมกันหลอดที่อยู่ด้านนอกจะดูดอากาศเข้าไปภายในหลอดอากาศที่ถูกดูดเข้าไปจะเข้าไปอยู่ในปาก ทำให้แรงดันในปากดันน้ำไม่ให้น้ำที่อยู่ในแก้วขึ้นมาจากหลอดที่อยู่ในขวดแก้วได้ จึงทำให้เราดูดน้ำได้แค่ครึ่งหลอด


การทดลองของเพื่อนๆในห้อง